CrCF Year-in-Review 2021 In a year when the rights of Thais have been under assault from all directions, we have been challenged like never before to monitor, record, advocate and protect. We travelled for 10 hours on broken roads to support the Karen Bang Kloi of the Kaeng Krachan National Park and reacted fast toContinue reading “CrCF Year-in-Review 2021”
Category Archives: Uncategorized
ผู้แทนพิเศษยูเอ็นสี่คน กังวลรัฐบาลมีมติ ออกฎหมายควบคุมเอ็นจีโอ เอาผิดอาญา ห้ามรับเงินต่างชาติ อาจขัดขวางการทำงานของภาคประชาสังคม
ผู้รายงานพิเศษด้านสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมและการสมาคมโดยสันติ; ผู้รายงานพิเศษด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก; ผู้รายงานพิเศษด้านสถานการณ์ของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน และผู้รายงานพิเศษด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการต่อต้านการก่อการร้าย หมายเลขอ้างอิง: OL THA 7/2021 20 ธันวาคม 2564 เรียน ฯพณฯ เรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้เขียนจดหมายฉบับนี้ถึงท่าน ในฐานะผู้รายงานพิเศษด้านสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและการสมาคม (Special Rapporteur on the rights to freedom of peaceful assembly andContinue reading “ผู้แทนพิเศษยูเอ็นสี่คน กังวลรัฐบาลมีมติ ออกฎหมายควบคุมเอ็นจีโอ เอาผิดอาญา ห้ามรับเงินต่างชาติ อาจขัดขวางการทำงานของภาคประชาสังคม”
ศาลแพ่งชี้สองสถาน พร้อมนัดสืบพยานฝ่ายโจทก์ ต.ค. 65กรณี WeVo ฟ้องแพ่งสตช. เหตุเจ้าหน้าที่ใช้กำลังจับกุมมิชอบจากกิจกรรมขายกุ้ง 31 ธ.ค. 63ด้านคดีเก็บลวดหนามแยกอุรุพงษ์ ศาลเลื่อนนัดชี้สองสถาน มี.ค. 65
เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2564 ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ได้นัดชี้สองสองสถาน ในคดีแพ่งที่กลุ่ม We Volunteer หรือ WeVo ฟ้องสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) กรณีเจ้าหน้าที่สลายการชุมนุมและจับกุมมิชอบ 2 คดี ได้แก่ 1) คดีหมายเลขดำที่ พ.1282/2564 กรณีเจ้าหน้าที่สลายกิจกรรมขายกุ้งของกลุ่ม WeVo เมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 2563 และ 2) คดีหมายเลข พ.1663/2564 กรณีเจ้าหน้าที่จับกุมมิชอบต่อกลุ่ม WeVo ที่ช่วยรื้อลวดหนามบริเวณสี่แยกอุรุพงษ์ เมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 2563 สำหรับคดีหมายเลขดำที่ พ.1282/2564 กรณีเจ้าหน้าที่สลายการชุมนุมและใช้กำลังจับกุมโดยมิชอบในกิจกรรมขายกุ้งของกลุ่ม WeVo โดยศาลได้กำหนดประเด็นชี้สองสถานและกำหนดวันนัดสืบพยานฝ่ายโจทก์ทั้งหมด 16 ปากอีกครั้ง ในวันที่ 18-19 และ 25-26 ต.ค. 2565 เวลา 9.00 น. แต่ยังคงไม่ได้กำหนดนัดสืบพยานฝ่ายจำเลยทั้ง 14 ปากContinue reading “ศาลแพ่งชี้สองสถาน พร้อมนัดสืบพยานฝ่ายโจทก์ ต.ค. 65กรณี WeVo ฟ้องแพ่งสตช. เหตุเจ้าหน้าที่ใช้กำลังจับกุมมิชอบจากกิจกรรมขายกุ้ง 31 ธ.ค. 63ด้านคดีเก็บลวดหนามแยกอุรุพงษ์ ศาลเลื่อนนัดชี้สองสถาน มี.ค. 65“
ศาลจังหวัดสงขลานัดสืบพยานแพทย์ โรงบาลค่ายอิงคยุทธ 2 ปากเสร็จสิ้น กรณีนายอับดุลเลาะ อีซอมูซอ เสียชีวิตระหว่างถูกควบคุมตัวในค่ายทหาร
เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 2564 ที่ผ่านมา ศาลจังหวัดสงขลาสืบพยานฝ่ายอัยการผู้ร้อง เป็นพยานแพทย์จากโรงบาลค่ายอิงคยุทธบริหาร 2 ปากทางออนไลน์ เสร็จสิ้น กำหนดนัดสืบพยานฝ่ายญาติผู้ตาย วันที่ 19-20 ก.พ. 2565 ต่อไป ทนายความฝ่ายญาติผู้ตายแถลงต่อศาล ขอสืบพยานในนัดถัดไป จำนวน 4 ปาก หนึ่งในนั้นจะขอให้ศาลหมายเรียกหมอซึ่งเป็นพยานผู้เชี่ยวชาญมาเพิ่มอีก 1 ปาก เพื่อสืบพยานในครั้งนี้อีกด้วย คดีนี้สืบเนื่องจากเหตุการณ์ นายอับดุลเลาะ อีซอมูซอถูกควบคุม เมื่อวันที่ 20 ก.ค. 2562 โดยหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 44 และส่งตัวไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ต่อมาเวลาประมาณ 03.00 น. ของวันที่ 21 ก.ค. 2562 พบว่า นายอับดุลเลาะ หมดสติอยู่ในห้องควบคุมศูนย์ซักถาม หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 43 ค่ายอิงคยุทธบริหาร โดยนายอับดุลเลาะ ได้รับการรักษาเบื้องต้นที่โรงพยาบาลค่ายอิงคยุทธบริหาร จากนั้นถูกส่งไปรักษาตัวต่อ ณContinue reading “ศาลจังหวัดสงขลานัดสืบพยานแพทย์ โรงบาลค่ายอิงคยุทธ 2 ปากเสร็จสิ้น กรณีนายอับดุลเลาะ อีซอมูซอ เสียชีวิตระหว่างถูกควบคุมตัวในค่ายทหาร“
สิทธิเด็กในการชุมนุมโดยสงบ โดยศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิต มันตาภรณ์อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เรียบเรียงโดย ณฐพร ส่งสวัสดิ์ อาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน มูลนิธิผสานวัฒนธรรม สิทธิในการชุมนุมของเด็กและเยาวชน การมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนในการชุมนุมไม่ใช่ปรากฏการณ์ใหม่ และเด็กมีสิทธิในการชุมนุมไม่ต่างจากประชาชนกลุ่มอื่น ๆ โดยมีรัฐธรรมนูญไทย กฎหมายการคุ้มครองเด็ก และข้อตกลงระหว่างประเทศที่รับรองสิทธินี้อยู่ นั่นคือ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิเด็ก (CRC) มาตรา 12, 13, 15 ว่าด้วยการรวมกลุ่มโดยสันติ โดยต้องมีขอบเขต เช่น การชุมนุมต้องเป็นการชุมนุมโดยสงบ เป็นไปตามหลักการประชาธิปไตย สิทธิในการแสดงออกและรวมกลุ่มนี้ไม่ใช่สิทธิเด็ดขาด และถูกจำกัดได้ อย่างไรก็ตาม การที่รัฐจะจำกัดสิทธิในการชุมนุมนั้นจะต้องมีหลักเกณฑ์ โดยเฉพาะหลักเกณฑ์พื้นฐาน 3 ประการ คือ หลักกฎหมาย (Legality) หลักความจำเป็น (Necessity) และหลักความได้สัดส่วน (Proportionality) กล่าวคือ รัฐต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าการจำกัดสิทธิในการชุมนุมนั้นชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นไปตามอำเภอใจและมีความสมเหตุสมผล เป็นการใช้อำนาจเท่าที่จำเป็นเพื่อป้องกันภัยร้ายแรงที่กำลังจะเกิดขึ้น และได้สัดส่วนกับสิ่งที่เป็นภัย เพื่อผลประโยชน์ในด้านความมั่นคงและความปลอดภัยของประชาชน นอกจากนี้ก็ยังมีหลักเกณฑ์อื่น ๆ ที่ควรปฏิบัติตามอีก เช่น หลักความชอบธรรม หรือหลักความเป็นสากล โดยต้องคำนึงถึงว่า รัฐไม่ใช่ผู้ที่ “ให้สิทธิ” แต่เป็นผู้ที่มีหน้าที่ “ประกันสิทธิ”Continue reading “สิทธิเด็กในการชุมนุมโดยสงบ โดยศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิต มันตาภรณ์อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย“