ต่อผู้เข้าร่วมชุมนุมกิจกรรมรับเสด็จวันที่ 15 เมษายน 2565 และนำคนผิดมาลงโทษ พร้อมปรับแผนการควบคุมกิจกรรมการชุมนุมโดยสงบ เผยแพร่วันที่ 16 เมษายน 2565 วันที่ 15 เมษายน 2565 จากกิจกรรมการชุมนุมเดินขบวนไปอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยผู้ชุมนุมมีการเดินเท้าจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เพื่อไปรับเสด็จแต่ถูกตำรวจตั้งด่านสกัดที่ถนนหลานหลวง ทำให้เกิดเหตุเผชิญหน้ากันระหว่างเจ้าหน้าที่และผู้ชุมนุม โดยเบื้องต้นมีผู้ชุมนุมหนึ่งรายได้รับบาดเจ็บจากการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจซึ่งใช้กำลังเข้าทำร้ายร่างกายจนได้รับบาดเจ็บ มีร่างกายบอบช้ำและฟันบิ่นเนื่องจากเจ้าหน้าที่กดหัวกระแทกกับพื้น และได้รับการตรวจรักษาร่างกายที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ขณะเดียวกันยังพบว่ามีการเข้าควบคุมตัวเยาวชนอายุ 13 ปี โดยใช้เจ้าหน้าที่กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์นับสิบคนเข้าล้อมตัวและอุ้มขึ้นยานพาหนะไปยังสถานที่ควบคุมตัวโดยพลการ มูลนิธิผสานวัฒนธรรมเป็นองค์กรสิทธิมนุษยชนที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.) ทำงานด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและการเข้าถึงความยุติธรรมของประชาชน โดยเฉพาะในเรื่องยุติการทรมาน การปฏิบัติอย่างไร้มนุษยธรรมย้ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และการบังคับให้สูญหาย เห็นว่าการกระทำดังกล่าวโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นการใช้กำลังเกินกว่าเหตุ กล่าวคือ มีการนำกำลังเจ้าหน้าที่จำนวนมากเข้าสกัดผู้ชุมนุมโดยสงบ และมีเจ้าหน้าที่บางคนโดยใช้กำลังฉุดกระชากผู้ชุมนุมที่ไม่มีอาวุธกดลงกับพื้นเป็นเหตุให้ได้รับบาดเจ็บต่อร่างกายและอาจรวมถึงทรัพย์สินเสียหายด้วย มูลนิธิฯขอให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติตรวจสอบการกระทำดังกล่าวในครั้งนี้ว่ามีการใช้กำลังเกินกว่าเหตุหรือไม่อย่างไร โดยเจ้าหน้าที่ที่กระทำผิดต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทั้งทางวินัยและอาญา พร้อมเสนอให้มีการปรับแผนการควบคุมกิจกรรมการชุมนุมโดยสงบ การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงที่มีลักษณะขัดขวางการแสดงออกทางความคิดเห็นและการชุมนุมโดยปราศจากอาวุธซึ่งเป็นการจับกุมโดยพลการและมีความรุนแรงต่อผู้ชุมนุมที่เป็นเยาวชนบ่อยครั้งและทวีความรุนแรงขึ้น เช่นกรณีเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2565 นักกิจกรรมชายรายหนึ่งได้เดินทางไปที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเพื่อไปยืนร่วมในขบวนรับเสด็จพร้อมกระดาษ A4 ใส่อยู่ในกระเป๋า เขียนว่า “เราพร้อมอยู่ร่วมกับสถาบันกษัตริย์ ที่พูดถึงได้ ถามถึงได้ วิจารณ์ได้ ทรงพระเจริญ” แต่กลับถูกควบคุมตัวไปที่สโมสรตำรวจ และในวันที่ 26 กุมภาพันธ์Continue reading “แถลงการณ์ ขอให้สตช.สอบสวนการใช้กำลังเกินกว่าเหตุโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ”
Author Archives: voicefromthais
Collection of CrCF Thai media coverages 2021
CrCF Year-in-Review 2021
CrCF Year-in-Review 2021 In a year when the rights of Thais have been under assault from all directions, we have been challenged like never before to monitor, record, advocate and protect. We travelled for 10 hours on broken roads to support the Karen Bang Kloi of the Kaeng Krachan National Park and reacted fast toContinue reading “CrCF Year-in-Review 2021”
ข้อเสนอ 10 ข้อ จากสถานการณ์การฆ่านอกระบบกฎหมายในจังหวัดชายแดนใต้ ขอให้ยุติและแก้ไขสภาพปัญหา
ขอให้ยุติการฆ่านอกระบบกฎหมายในรอบสองปีเสียชีวิตไปแล้ว ๕๐ ราย ข้อเสนอ 10 ข้อ จากสถานการณ์การฆ่านอกระบบกฎหมายในจังหวัดชายแดนใต้ รายที่ 51 รายแรกในปี 2565 เผยแพร่วันที่ 25 มกราคม 2565 มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (CrCF) กลุ่มด้วยใจ (Duayjai) เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากกฎหมายพิเศษ (JASAD เครือข่ายสิทธิมนุษยชนปาตานี (HAP) ในประวัติศาสตร์การเมืองของไทยมีการละเมิดสิทธิในชีวิตที่ร้ายแรงและกว้างขวางหลายเหตุการณ์ เช่น การสลายการชุมนุมกลุ่ม นปช. กลุ่มพันธมิตรฯ สงครามยาเสพติด เหตุการณ์ตากใบ-กรือเซะ/ความขัดแย้งใน จชต. เหตุการณ์พฤษภา 35 เหตุการณ์ 6 ตุลา 19 เหตุการณ์ 14 ตุลา 16 การทรมาน อุ้มหาย อุ้มฆ่า เป็นระบบ-เฉพาะกรณี ทั้งโดยเจ้าหน้าที่รัฐและบางกรณีเกิดจากกลุ่มติดอาวุธที่ไม่ใช่รัฐ ความรุนแรงทางการเมืองที่ผ่านมาเหล่านี้ทำให้เกิดการละเมิดสิทธิในชีวิต ไม่สามารถนำคนผิดมาลงโทษ แต่กลับเหลือแต่เพียงความทรงจำและประวัติศาสตร์ความรุนแรง อย่่างกรณีเหตุการณ์ปราบปรามผู้ชุมนุมเสื้อแดงปี 2553 มีผู้เสียชีวิตถึง 99 ศพ มีหลายกรณีที่ระบุว่าผู้กระทำเป็นเจ้าหน้าที่รัฐContinue reading “ข้อเสนอ 10 ข้อ จากสถานการณ์การฆ่านอกระบบกฎหมายในจังหวัดชายแดนใต้ ขอให้ยุติและแก้ไขสภาพปัญหา”
ผู้แทนพิเศษยูเอ็นสี่คน กังวลรัฐบาลมีมติ ออกฎหมายควบคุมเอ็นจีโอ เอาผิดอาญา ห้ามรับเงินต่างชาติ อาจขัดขวางการทำงานของภาคประชาสังคม
ผู้รายงานพิเศษด้านสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมและการสมาคมโดยสันติ; ผู้รายงานพิเศษด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก; ผู้รายงานพิเศษด้านสถานการณ์ของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน และผู้รายงานพิเศษด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการต่อต้านการก่อการร้าย หมายเลขอ้างอิง: OL THA 7/2021 20 ธันวาคม 2564 เรียน ฯพณฯ เรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้เขียนจดหมายฉบับนี้ถึงท่าน ในฐานะผู้รายงานพิเศษด้านสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและการสมาคม (Special Rapporteur on the rights to freedom of peaceful assembly andContinue reading “ผู้แทนพิเศษยูเอ็นสี่คน กังวลรัฐบาลมีมติ ออกฎหมายควบคุมเอ็นจีโอ เอาผิดอาญา ห้ามรับเงินต่างชาติ อาจขัดขวางการทำงานของภาคประชาสังคม”